ในช่วงพฤศจิกายนของทุกปี จะเกิดปรากฏการณ์
"ฝนดาวตกลีโอนิดส์" ซึ่งประเทศไทยก็ถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มของประเทศในแถบเอเซียที่มองเห็นได้ดี อย่างนี้ห้ามพลาดเด็ดขาด
ชมชัด ๆ 17-18 พ.ย.นี้ฝนดาวตกลีโอนิค มีจุด radiant อยู่บริเวณส่วนหัวของกลุ่มดาวสิงโต (ที่เป็นรูปเคียว) โดยในวันที่ 17-18 พย. จุด radiant จะเริ่มขึ้นจากขอบฟ้า และอยู่สูงจากขอบฟ้าให้สังเกตเห็นได้ราว 03.00 น ทางฟ้าด้านทิศตะวันออก แต่ปริมาณฝนดาวตกนั้นขึ้นอยู่อัตราการเกิดสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งปกติเราจะสามารถเริ่มเห็นฝนดาวตกได้แต่หลังเที่ยงคืนไปแล้ว
น.ส.ประพีร์ วิราพร นายกสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปรากฏการณ์ฝนดาวตกสิงโต หรือฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonids) ในปีนี้ อาจได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากนักดาราศาสตร์คำนวณพบว่า อัตราการเกิดดาวตกอาจสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงตี 4 ถึง ตี 5 ครึ่งของเช้ามืดวันที่ 18 พ.ย. 2552 อาจได้เห็นถึงชั่วโมงละ 200 ดวง โดยเป็นจำนวนที่มากรองจากเมื่อปี พ.ศ.2544 ซึ่งเป็นปีที่มีความฮือฮามากมีถึง 1,000 ดวงต่อชั่วโมง
นายกสมาคมดาราศาสตร์ฯ กล่าวอีกว่า ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในบริเวณที่มีสะเก็ดดาวซึ่งเป็นเศษชิ้นเล็กๆ ที่หลุดมาจากดาวหางและทิ้งไว้ตามทางโคจร โดยเรียกแนวของสะเก็ดดาวเหล่านี้ว่า ธารสะเก็ดดาว สำหรับฝนดาวตกสิงโต เกิดจากดาวหางเทมเพล-ทัลเทิล ซึ่งมีธารสะเก็ดดาวอยู่หลายสาย โดยปีนี้คาดว่าจะเห็นฝนดาวตกสิงโตในอัตราที่มาก เพราะโลกจะเข้าไปใกล้ธารสะเก็ดดาวในอดีต 2 สายธาร คือ ช่วงปี ค.ศ.1466 และ ค.ศ.1533 ซึ่งฝนดาวตกสิงโต จะเริ่มขึ้นประมาณวันที่ 10 พ.ย.นี้ แต่มีอัตราฝนดาวตกค่อนข้างต่ำ และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนสูงที่สุดประมาณวันที่ 17-19 พ.ย.นี้ และสิ้นสุดลงในวันที่ 21 พ.ย.นี้
สำหรับช่วงที่มีดาวตกถี่มากที่สุดนั้น น.ส.ประพีร์ กล่าวอีกว่า ในประเทศไทย สามารถมองเห็นได้ทั่วประเทศ แต่มีเงื่อนไขคือ ท้องฟ้าจะต้องใส เห็นดวงดาวชัดเจน ปีนี้ฝนดาวตกสิงโต เกิดในช่วงคืนเดือนมืด โอกาสเห็นก็จะมีสูงขึ้น วิธีดูที่ดีที่สุดคือ การนอนหงายมองไปที่กลางฟ้าเหนือศีรษะ ดาวตกจะพุ่งมากจากทุกทิศทาง จึงควรกวาดตามองให้ทั่วฟ้า ฝนดาวตกจะมีลักษณะแสงสว่างวาบเคลื่อนที่ผ่านอย่างรวดเร็ว มีสีสันสวยงาม เช่น สีน้ำเงินเขียว สีส้มเหลือง เพราะมีแร่ธาตุประกอบต่างๆกัน เช่น แมกเนเซียม ทองแดง เหล็ก จึงให้สีที่แตกต่างกัน ปลายของดาวตกซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ จะทิ้งควันจางๆ เหมือนไอพ่น หากอยู่ในที่เงียบสงบ บางครั้งอาจได้ยินเสียงด้วย เรียกว่า โซนิกบูม และหากเป็นดาวตกขนาดใหญ่เมื่อเสียดสีกับบรรยากาศจะเห็นเป็นลูกไฟ การเกิดปรากฏการณ์ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเชื่อหรือโหราศาสตร์
การสังเกตฝนดาวตกลีโอนิคปีนี้สำหรับปี 2552 นี้ คาดว่าจะเป็นปีทองของฝั่งเอเซียบ้าง เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา ปริมาณการเกิดฝนดาวตกลีโอนิดจะอยู่ทางฝั่งยุโรปและอเมริกามากกว่า แต่เป็นช่วงเวลากลางวันของทางฝั่งเอเซีย
ฝนดาวตกลีโอนิดปี 2552 นี้นักดาราศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีปริมาณดาวตกมากที่สุด ช่วงเวลา 21.34 UT และ 21.44 UT ของวันที่ 17 พฤศจิกายน หรือ ตรงกับเวลา 04.34 และ 04.44 ของรุ่งเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน ตามเวลาในประเทศไทย โดยมีปริมาณการตกอยู่ที่ราว 500 ดวงต่อชั่วโมง
ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว เป็นคืนเดือนมืด ทำให้เป็นช่วงเวลาเหมาะสำหรับการดูฝนดาวตก และ ช่วงใกล้รุ่งเช้านี้ กลุ่มดาวสิงโตซึ่งเป็นจุดกำเนิดของฝนดาวตกนี้ กำลังอยู่สูงจากขอบฟ้าเกือบ 60 องศา การสังเกตฝนดาวตกนี้จึงต้องนอนมองไปให้ทั่วท้องฟ้า ไม่ต้องเจาะจงทิศให้แน่นอน
ปีนี้จะมีฝนดาวตกให้ตื่นเต้นได้เพียงไร จากการคำนวณของนักดาราศาสตร์หลายสำนักฯ ตรงกันว่า ในปี พ.ศ. 2544 นี้ จะเกิดฝนดาวตกในคืนวันที่ 18 พฤศจิกายน 2544 ต่อกับเช้าวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 โดยจุดที่เห็นดีที่สุดและมีจำนวนมากสุดคือ แถบเอเซียตะวันออก เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เอเซียกลางและออสเตรเลีย โดยช่วงเวลาที่เป็นจุดที่มีฝนดาวตกมากสุดคือ เวลา 1:19 น. ของเช้าวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 โดยการคำนวณของเดวิด แอชเชอร์ และโรเบิร์ต แมกนอต คาดคะเนไว้สูงถึง 15,000 ดาวต่อชั่วโมง หรือประมาณ 80 ดาวต่อนาที สำหรับสมาคมดาราศาสตร์ของไทยได้คาดคะเนไว้ว่า ในช่วงเวลา 1:00-2:00 น. ของเช้าวันที่ 19 น่าจะได้เห็นดาวตกในอัตรา 10 ถึง 18 ดาวต่อนาที
คงจำกันได้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2541 ประชาชนคนไทยให้ความสนใจกับฝนดาวตกสิงโตกันมากมายเพียงไร หลายคนเคยผิดหวังจากการติดตามชมในคืนนั้น สำหรับในปีนี้ ฝนดาวตกสิงโตหรือลีโอนิคส์ จะกลับมาใหม่ในคืนวันที่ 18 ต่อกับเช้าวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 เราลองมาทำความรู้จักกับฝนดาวตกสิงโตกันเล็กน้อย
ก่อนอื่นคงทำความเข้าใจกับวิถีท้องฟ้าและการสังเกตจากโลกไปยังกลุ่มดาวต่าง ๆ 12 ราศีในระบบสุริยะจักรวาล มีดาวเคราะห์ที่เห็นด้วยตาเปล่าชัดเจนห้าดวง ดังนั้นมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณได้เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดาวเคราะห์ ซึ่งจะเห็นว่าทุกขณะที่สังเกต จะเห็นดาวเคราะห์อยู่ในกลุ่มดาวจักรราศี และเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปตามแนวของจักรราศี ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าคือ จากราศีเมษ ก็ไป พฤษภ ไปราศี มิถุน แต่บางขณะเวลาดาวเคราะห์ก็เคลื่อนที่ถอยหลัง การเคลื่อนที่ถอยหลังนี้เกิดจากจุดสังเกตบนโลกที่มองไป ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์บางขณะ ทำให้มุมมองของโลกที่มองไปมีลักษณะสัมพัทธ์ที่ทำให้ดาวเคราะห์เคลื่อนถอยหลัง
จากรูปภาพของระบบสุริยะจักรวาลที่แสดงทำให้เห็นว่า โลกมองเห็นดาวอังคารอยู่ในราศีมีน เห็นดาวศุกร์อยู่ในราศีพฤษภ เห็นดาวอาทิตย์อยู่ในราศีกรกฏ เห็นดาวพุธอยู่ในราศีสิงห์ เห็นดาวพฤหัสอยู่ในราศีกันย์ และดาวเสาร์อยู่ในราศีพิจิก และถ้าดูดวงจันทร์ด้วยก็ขึ้นอยู่กับวันข้างแรมขณะนั้น
การสังเกตในลักษณะที่โลกเป็นจุดศูนย์กลาง จึงเป็นลักษณะที่คนโบราณเชื่อว่า รังสีของดาวเคราะห์ทีแผ่ตรงมายังโลกจะมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่