January 12, 2025, 08:51:21 AM
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
News
:
Home
Help
Search
Login
Register
PanteeTHAI.com Map & GPS forum
>
หมวดหมู่ทั่วไป
>
บอร์ดทั่วไป (General Discussion)
>
เลี้ยงลูกอย่างไร? ไม่ให้เป็น '18 มงกุฎ'
Pages: [
1
]
Go Down
« previous
next »
Print
Author
Topic: เลี้ยงลูกอย่างไร? ไม่ให้เป็น '18 มงกุฎ' (Read 1758 times)
nuch
BG Group
Full Member
Posts: 154
เลี้ยงลูกอย่างไร? ไม่ให้เป็น '18 มงกุฎ'
«
on:
December 03, 2009, 11:27:28 AM »
ท่ามกลางสังคมทุกวันนี้ คงจะปฏิเสธกลุ่มมิจฉาชีพที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นไม่ได้
โดยเฉพาะกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงตัวในคราบเด็ก
กระจายกลุ่มอาละวาดหลอกลวงให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ
บวกกับวิวัฒนาการกลยุทธ์กลลวงที่น่าเชื่อถือ และไม่ธรรมดา ซึ่งยุคสมัยนี้
การจะเป็นมิจฉาชีพได้ ไม่จำเป็นต้องไร้การศึกษาเสมอไป
แต่พวกเขาอาจมาจากกลุ่มเด็กที่มีการศึกษาดี
รวมถึงอาจเป็นอัจฉริยะระดับแถวหน้าของประเทศก็เป็นได้
ประเด็นข้างต้น "ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ" จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันพัฒนาตนเอง และนักบริหาร คลินิกสุขภาพจิต บอกว่า
การเลี้ยงดูของครอบครัว ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลให้เด็กมีแนวโน้มของพฤติกรรมในทางบวก หรือลบได้เป็นอย่างมาก
ศ.ดร.นพ.วิทยา สะท้อนให้ฟังว่า
มนุษย์ทุกคน ล้วนมีสันดานดิบติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ถ้าถูกปลูกฝังให้ควบคุมสันดานดิบตั้งแต่เล็ก โตขึ้นจะมีการยับยั้งชั่งใจพฤติกรรมในทางลบได้ดี
ขณะเดียวกัน ถ้าถูกเลี้ยง โดยขาดเกราะควบคุมสันดานดิบ
แน่นอนว่า โตขึ้น เมื่ออยากได้สิ่งใด ก็จะเผยสันดานดิบออกมา
ด้วยการทำทุกอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตัวเองต้องการ
เช่น ‘เมื่อฉันหิว ถึงผิด ฉันก็จะทำ’ หรือ ‘เมื่อฉันอยากได้ ถึงผิด ฉันก็จะทำ’ เป็นต้น
นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ถือเป็นตัวกระตุ้นสันดานดิบ
และเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีให้แก่เด็กได้เช่นกัน
อาทิ
สังคมที่มีแต่ความรุนแรง ก้าวร้าว มากกว่าความรักที่จริงใจ
ทำให้เด็กซึมซับพฤติกรรมในด้านลบ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรม
หรือการกระทำในทางลบได้ง่าย เช่น ไม่มีความรักต่อเพื่อนมนุษย์
และจ้องจะทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงคนอื่น
รวมไปถึงค่านิยมในปัจจุบัน ที่พ่อแม่ต่างมุ่งเน้นด้านวิชาการให้ลูกเพียงอย่างเดียว
จนละเลยการสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องคุณธรรม-จริยธรรมเข้าไปในตัวลูกด้วย
ส่งผลให้อีโก้ของตัวเด็กไม่ได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม เมื่อเป็นเช่นนี้
อาจมีแนวโน้มสูงที่เด็กจะกลายเป็นคนเก่ง แต่ไม่สามารถระงับยับยั้งตัวเองได้
เมื่อใดที่เกิดความต้องการ อยากได้ อยากมี ก็จะทำ โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย
หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
"สังคมไทยเป็นสังคมตัวใครตัวมัน เน้นแต่เรื่องเก่ง เงิน และรวย
จนลืมคิด หรือปลูกฝังเรื่องจิตสังคม หรือจิตสาธารณะ ทำให้เด็กขาดความเป็นวิญญูชน
ส่งผลให้เกิดกลุ่มชนที่ฉลาดแต่จะเอาตัวรอด เมื่อต้องการ หรืออยากได้สิ่งใด
ก็จะทำโดยไม่คิดถึงคนอื่น เกิดเป็นมิจฉาชีพอัจฉริยะ ที่มีกลโกงซับซ้อน
และแนบเนียนขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนที่ภาพของมิจฉาชีพ คือคนที่ไร้การศึกษา
ซึ่งสังคมเริ่มน่ากลัวมากขึ้นทุกวัน ถ้าไม่ช่วยกันปลูกฝังหัวใจสำนึกรักสาธารณะให้กับเด็ก"
คุณหมอวิทยาสะท้อน
เพื่อลดการขยายตัวของกลุ่มมิจฉาชีพ หรือ 18 มงกุฎในคราบเด็ก และวัยรุ่น
การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ต้นน้ำ นั่นก็คือครอบครัว
โดย 'ศ.ดร.นพ.วิทยา' บอกถึงวิธีการเลี้ยงลูกสำหรับพ่อแม่
เพื่อเป็นแนวทางให้ลูกเป็นเด็กดีว่า
1. ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องให้ความสำคัญ และความสนใจเรื่องการพัฒนาจิตใจของลูก
ให้มีจิตสังคม หรือจิตสาธารณะเสียก่อน เช่น ถ้าจะสอนเรื่องความกตัญญู
ไม่ใช่สอนให้กตัญญูกับคนในครอบครัวเพียงอย่างเดียว เช่น “ฉันเป็นแม่
ลูกจะต้องกตัญญูกับแม่” แต่ทั้งนี้ควรสอนให้ลูกตัญญูต่อคนอื่น เช่น ครู
สังคม และประเทศชาติด้วย
2. พ่อแม่จะต้องพัฒนาจิตสำนึกในส่วนที่ดี (หน้ามือ)
ให้งอกงามเพิ่มขึ้น เช่น ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความอ่อนโยน
ขณะที่จิตสำนึกในส่วนไม่ดี (หลังมือ) เช่น ความหน้าด้าน เกียจชัง ควรลดให้เกิดน้อยลง
ซึ่งถ้าเมื่อไร พ่อแม่ลืมพัฒนาส่วนที่เป็นหน้ามือให้แก่ลูก ภาพในส่วนของหลังมือ
ไม่ว่าจะก้าวร้าว รุนแรง จะขยายตัวมากขึ้น นำไปสู่การเอาเปรียบและหลอกลวงผู้อื่น และสังคมต่อไปได้
เช่น สอนให้ลูกรู้จัก ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ชมเชย ช่วยเหลือ
ทำให้เด็กรู้สึกว่า ตัวเขาเองมีค่า เพราะพ่อแม่ชมเขา สอนเขา
หรือมองเขาในลักษณะที่ให้เกียรติ พร้อมกับภูมิใจตัวลูก
เมื่อลูกรู้สึกว่าตัวเองมีค่าแล้ว ก็สอนต่อไปว่า ต้องกระจายคุณค่าไปยังผู้อื่นด้วย
ทำให้เด็กได้รับมิตรภาพมากขึ้น
แต่ถ้าเมื่อไรที่พ่อแม่ไปตำหนิ หรือไม่ให้เกียรติลูก
จิตใต้สำนึกและเมล็ดพันธุ์ด้านลบ จะขยายพันธุ์มากขึ้น
ทำให้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่กระด้าง ส่งผลให้ก่อการกระทำที่ผิดกฎหมาย
และหลอกลวง กลายเป็น 18 มงกุฎได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
3. หลอมให้ลูกทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม
ด้วยการแบ่งปันเวลาในครอบครัว พาลูกออกไปทำประโยชน์เพื่อสังคมบ้าง
ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังให้ลูกรู้จักแบ่งปัน สู่การเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ
ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
หรือการปลูกป่าคืนต้นไม้ให้ป่าใหญ่ เป็นต้น หลอมความอ่อนโอน
และมองเห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์
4. สอนลูก ให้รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
และปกป้องผลประโยชน์บนความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ในสังคม
ด้วยการสอนให้ลูกรู้สึกไม่ดี กับการกระทำผิด เช่น เมื่อเห็นเพื่อนถูกรังแก
ต้องวิ่งเข้าไปห้าม หรือวิ่งเข้าไปบอกครูทันที
ตัวอย่างง่ายๆ คือ ตั้งคำถามให้ลูกคิด เช่น เมื่อเห็นลูกนกตกลงมาจากรัง
ลูกจะต้องทำอย่างไร จะปล่อยไว้เฉยๆ หรือปีนขึ้นไปเก็บ
รวมทั้งต้องสอนให้ลูกกล้า และไม่อายที่จะทำความดี และกล้าที่จะบอก อาทิ
สิ่งใดไม่ถูกต้อง ต้องช่วยกันแย้ง เป็นต้น
5. แบบอย่างที่สำคัญของลูก คือแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่
ดังนั้น พ่อกับแม่ต้องเป็นแบบอย่างด้านความเข้มแข็ง อดทน เสียสละ
ไม่เอาเปรียบผู้อื่น นอบน้อม อ่อนหวาน เป็นต้น โดยทำให้ลูกเห็นบ่อยๆ
จะช่วยให้ลูกซึมซับได้ดี
ลูก
จะเป็นอย่างไร ส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานการเลี้ยงในครอบครัว ถ้าเลี้ยงด้วยใจ
พร้อมกับใส่คุณธรรม ลูกก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ดี เวลาเจอปัญหา หรือพบกับทางตัน
ก็จะหาทางออกด้วยสติ ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่น
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ธันวาคม 2552 08:27 น.
“ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ”
«
Last Edit: December 03, 2009, 01:06:37 PM by nuch
»
Logged
Pages: [
1
]
Go Up
Print
« previous
next »
Jump to:
Please select a destination:
-----------------------------
หมวดหมู่ทั่วไป
-----------------------------
=> บอร์ดทั่วไป (General Discussion)
-----------------------------
หมวดท่องเที่ยว แผนที่ การเดินทาง
-----------------------------
=> Maps and Travel Information
===> แผนที่ประเทศไทย แผนที่จังหวัด (Thailand Maps)
===> สถานะการน้ำมัน ราคาน้ำมัน (Oil Price)
-----------------------------
ประชาสัมพันธ์ทั่วไป
-----------------------------
=> ประกาศรับสมัครงาน (Employers)
=> ประกาศหางาน (Employees)
=> ประชาสัมพันธ์สินค้า (Sales & marketing)
-----------------------------
จีพีเอส เครื่องติดตามด้วยดาวเทียม (GPS Tracker)
-----------------------------
=> อุปกรณ์จีพีเอสติดตาม (GPS Tracker)
=> กรณีศึกษา: การใช้งานจีพีเอสติดตาม (Case Study)
Loading...